[1] PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matters 2.5 µm เป็นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ 20 กว่าเท่า) ถ้าพูดถึง ฝุ่น PM 2.5 เชื่อว่าตอนนี้คงไม่มีใคร ที่จะไม่รู้จักอย่างแน่นอน เพราะ PM 2.5 เป็นหนึ่งมลพิษที่แทบจะเรียกว่า เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทยเลยก็ว่าได้ แต่หลายๆคนก็ยังไม่รู้ ถึงความรุนแรง และความอันตรายของมัน PM 2.5 ประกอบด้วยก๊าซพิษและสารก่อมะเร็ง เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องรถยนต์ การเผาในที่โล่ง หรือแม้กระทั่ง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม จากที่กล่าวมาข้างต้น สาเหตุหลักๆ ก็เกิดจากการกระทำของมนุษย์นี่แหละ เพราะฉะนั้นจะแปลกอะไร ที่ PM 2.5 ยังคงวนเวียนอยู่บนอากาศตลอดเวลา และอยู่กับคนไทยมายาวนาน ไม่หายไปสักที PM 2.5 เป็นภัยสิ่งแวดล้อม ที่คุกคามสุขภาพของประชาชนอย่างมาก หากประชาชนได้รับ PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย จะทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งมีผล ทั้งคนที่อยู่ในเมืองหลวงและชนบท โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทั้งเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด เป็นต้น หรือรวมไปถึงผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งในช่วงที่มี PM 2.5 สูง เช่น ตำรวจจราจร วินมอเตอร์ไซค์ ก่อสร้าง เป็นต้น
[2] จริง ๆ แล้ว ค่า PM 2.5 ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกแนะนำระดับค่าเฉลี่ยรายวันไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กำหนดค่าเฉลี่ยรายวันไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพราะ PM 2.5 ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการณ์ในปี 2559 ว่า ไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษอากาศถึง 6,330 ราย สำหรับการเจ็บป่วยพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2563 พบรายงานผู้ป่วยมะเร็งปอด 122,104 ราย คิดเป็น 186.26 ต่อแสนประชากร สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศแล้ว 1.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 1.3 ล้านคน โดยพบมากในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะภาคเหนือเป็นพื้นที่ ๆ เผชิญหน้ากับปัญหาอย่างหนักหน่วงที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภูมิประเทศที่เป็นที่ราบในหุบเขาล้อมรอบไปด้วยภูเขา ลักษณะเหมือนแอ่งกระทะ จึงเกิดการสะสมหมอกควันมากกว่าพื้นที่ราบที่อากาศหมุนเวียนได้ง่าย อีกทั้งกระแสลมก็พัดจากทิศตะวันออกของแนวเทือกเขาเข้าสู่ตัวเมือง โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ ทำให้เมื่อกล่าวถึงวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ก็มักจะเป็นทางภาคเหนือ เป็นอันดับต้นๆนั่นเอง
[3] มีการศึกษาเรื่องความเข้มข้นของ PM 2.5 โดยอ้างอิงจากวันที่ไม่มีความแปรปรวนของอากาศ พบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในช่วงเวลา ตั้งแต่ 1 ทุ่ม - 6 โมงเช้า จะมีความเข้มข้นมากที่สุด ช่วงเวลา 6 โมงเช้า - เที่ยง ความเข้มข้นจะเริ่มลดน้อยลง และช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ เที่ยง - 1 ทุ่ม จะมีปริมานความเข้มข้นน้อยที่สุด ทั้งในพื้นที่ กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งนี้ ที่ความเข้มข้นของ PM 2.5 มีมากในช่วงเวลากลางคืน เพราะ เป็นผลกระทบจากการทำกิจกรรม ที่สร้างมลพิษ PM 2.5 ในช่วงเวลากลางวัน และอากาศไม่สามารถระบายออกได้ทัน จึงทำให้อัตราการระบายอากาศมีการลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นหากจะทำกิจกรรมใดๆนอกบ้าน จึงควรหลีกเลี่ยงช่วงค่ำ หรือเข้าแอพพลิเคชั่น เพื่อดูค่าฝุ่น PM 2.5 จากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีการพยากรณ์ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมรับมือกับฝุ่นร้าย
และหากคุณกำลังคิดว่า ฝุ่น PM 2.5 ไม่น่าจะอันตรายขนาดนั้นหรือเปล่า โปรดคิดใหม่ เพราะเมื่อเราสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย ขนจมูกของเราไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยกรองฝุ่นนั้นได้ แม้ฝุ่นในบางอนุภาคจะมีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ฝุ่นควันบุหรี่ แต่ส่วนมากเราจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ฝุ่นอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ส่งผลต่อร่างกายได้ ในระยะยาว รวมถึงโรคร้ายแรงอีกด้วย
ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อโรคภูมิแพ้อย่างไรบ้าง [4]
โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เมื่อได้รับ “สารก่อภูมิแพ้” เข้าไปก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติ สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เช่น ทางเดินหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส ซึ่งโรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ใน 2 สาเหตุหลัก คือ การเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความเป็นไปได้ว่า หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีสูงมากถึง 60% และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น ได้รับมลพิษต่างๆ หรือ ฝุ่น PM 2.5 ก็สามารถทำให้ โรคภูมิแพ้ ได้เช่นกัน
และฝุ่น PM 2.5 มีกลไกการอักเสบที่ลงลึกไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่งผลต่อภูมิแพ้ทางเดินหายใจ และภูมิแพ้ผิวหนัง เมื่อสูด PM 2.5 เข้าไป จะเกิดการอักเสบทั้ง ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ภูมิแพ้โพรงจมูก จาม น้ำมูก คัดจมูก ลามไปถึงโพรงไซนัสอักเสบ และ เกิดการอักเสบทางเดินหายใจส่วนล่างคือ บริเวณหลอดลม และ ถุงลม มีข้อมูลระบุว่า เมื่อร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ต่อสารก่อภูมิแพ้เดิมได้ไวขึ้น และ เกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทำให้โรคภูมิแพ้โพรงจมูก โรคหอบหืดกำเริบรุนแรงขึ้นได้ เมื่อร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย จะเกิดการอักเสบ 2 อย่าง คือ การอักเสบเฉียบพลัน และ การอักเสบเรื้อรัง รวมไปถึง อาการผิวหนังอักเสบรวมด้วย
อาการอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการ คัดจมูก คันตา จาม น้ำมูกไหล ยิ่งคนที่เป็นหอบหืดจะเหนื่อยขึ้น จากภาวะหลอดลมตีบอักเสบ มีหายใจเสียงหวีด ส่วนคนที่ไม่เคยเป็นหอบหืดมาก่อนหรือคนที่เป็นหอบหืดตอนเด็กหายแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้เพราะความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ที่สูงกระตุ้นให้โรคกลับมาและกระตุ้นให้เป็นโรคใหม่ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกับภูมิแพ้ผิวหนัง กระตุ้นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังและลมพิษได้ด้วย
อาการอักเสบเรื้อรัง จะมีอาการ คัดจมูกมากจนทนไม่ไหว ปวดจมูกซีกเดียว มีมูกสีเหลืองเขียวออกมา การได้กลิ่นลดลง ซึ่งเป็นอาการของโพรงไซนัสอักเสบ หรือภูมิแพ้กำเริบรุนแรงได้ นอกจากนี้ที่สำคัญมากการเกิดการอักเสบเรื้อรังในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเซลล์ผิดปกติกลายเป็นมะเร็งต่าง ๆ ในอนาคต อาทิ มะเร็งปอด เป็นต้น
อาการโรคผิวหนังอีกเสบ หรือ ผื่นแพ้ เป็นลักษณะอาการทางผิวหนังอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบบริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหรือลักษณะผิว ในลักษณะตุ่มผื่น นูนบวมแดง และรู้สึกคันได้ ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองหลังจาก สัมผัสฝุ่น PM 2.5 หรือมลพิษอื่น ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการแพ้จนทำให้ระคายเคือง เกิดตุ่มแพ้ง่ายหรือผื่นคันตามมาได้
โรคภูมิแพ้ แบ่งออกเป็น 5 ชนิด
1. โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis)
มีการอักเสบที่จมูกมักจะได้ยินกันบ่อยๆว่า “ภูมิแพ้” หรือที่เรียกกันว่า “แพ้อากาศ” เป็นโรคที่เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ เกิดอาการคันจมูก น้ำมูกไหล จาม และคัดจมูก สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยคือ ไรฝุ่น แมลงสาบ รังแคแมว สุนัข เกสรละอองหญ้าและเชื้อรา โรคภูมิแพ้อาากศ มักสร้างความรำคาญอย่างมาก เพราะมีน้ำมูกไหล หรือจามอยู่ตลอดเวลา การที่ไม่ได้รักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก
2. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Asthma)
มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม มักจะมีอาการหอบหืด เกิดจากการหดตัว หรือ ตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง โรคนี้บางคนมีอาการน้อย บางคนมีอาการมาก และอาจเสียชีวิตได้ โดยภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบต่างกันในแต่ละคน
3. โรคภูมิแพ้ตา (Eye Allergy)
มีการอักเสบของเยื่อบุตา เกิดจากร่างกายมีการตอบสนองไวต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ใบไม้ ขนสัตว์ ภูมิแพ้ที่ตาเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาภูมิแพ้ทางร่างกาย ซึ่งสามารถพบได้บ่อยถึง 10-20% ของคนทั่วไป ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ อาการที่พบเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้ตา คือ คันตา น้ำตาไหล ขยี้ตาตลอดเวลา
4. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic Skin Disease)
มีการอักเสบของผิวหนัง มีอาการเรื้อรัง พบได้บ่อยในเด็ก อาการของโรคที่สำคัญคือ มีผิวหนังแห้งแดงอักเสบ มีอาการคันมาก ผิวหนังจะไวต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกจึงทำให้มีผื่นขึ้น เป็นขุยลอกตามผิวหนัง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีการเกา แกะผิวหนัง ทำให้อาการผิวหนังอักเสบกำเริบมากขึ้น มีน้ำเหลืองออกมาที่ผิวหนัง ยิ่งทำให้อาการคันกระจายไปทั่วตัว และมีอาการกำเริบเป็นระยะ ๆ หรือ ที่เรียกกันว่า ลมพิษ
5. โรคภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)
มีอาการแสดงหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากอาการผื่นลมพิษทั่วไป เช่น ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการแสดงเป็นหอบเหนื่อย เนื่องมาจากมีหลอดลมตีบ ในส่วนของระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือในเด็กเล็กอาจจะมีอาการซึมลงหรือหงุดหงิดไม่สบายตัวได้ เพราะ ร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารกระตุ้นดังกล่าวมากกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะช็อก อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
10 วิธี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคภูมิแพ้ จากฝุ่น PM 2.5
- เช็คดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index – AQI) เพื่อมอนิเตอร์มลพิษ PM2.5 บนโทรศัพท์มือถือ หรือเช็คข่าวสารทางสื่อที่มีความน่าเชื่อถือเป็นประจำ หากอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ควรเลี่ยงการออกนอกบ้านและทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- สวมหน้ากากอนามัยอย่างสม่ำเสมอ หรือ สวมใส่หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐานช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ดีที่สุดและควรสวมใส่ให้ถูกต้อง ควรเลือกที่ครอบหน้าได้ทั้งหมด หรืออย่างน้อยๆ สวมหน้ากากอนามัยมาตรฐาน ก็สามารถช่วย ลดความเสี่ยงต่อเชื่อโรคทางอากาศต่างๆ แต่ยังกรองฝุ่นให้คุณมากถึง 40-60 %
- ล้างจมูกทุกวันอย่างถูกวิธี เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่เกิดจากการอักเสบ ในโพรงจมูกและไซนัสออกไป ทำให้โพรงจมูกสะอาด สามารถลดปริมาณน้ำมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก และลดโอกาสการติดเชื้อโรคจากสารก่อภูมิแพ้ และการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจด้วย
- จิบน้ำบ่อย ๆ เพราะฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นระดับนาโน่ ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมนับยี่สิบเท่านั้น สามารถวิ่งผ่านระบบหายใจ ดวงตา และเนื้อเยื่ออ่อนไหวต่างๆ ของร่างกายของเราได้ง่ายๆ ทำให้รู้สึกระคายเคืองผิว และทางเดินระบบหายใจ คอแห้ง และหายใจไม่สะดวก การจิบน้ำอาจไม่ใช่การรักษา หรือป้องกัน แต่อย่างน้อยทำให้คอ และระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารไม่ฝืดเคือง
- ปิดบ้านให้มิดชิด เพราะ PM 2.5 มีขนาดเล็กมากแน่นอนว่า สามารถทะลุลอดผ่านเข้ามาทางประตูบ้าน หน้าต่างได้ แต่หากปิดบ้านให้สนิท ย่อมดีกว่าเปิดกว้างรับลมที่มาพร้อมฝุ่น PM2.5 และหากปล่อยให้สะสมอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลไม่ดีต่อตัวเองด้วย และหมั่นทำความสะอาดจุดสะสมฝุ่น เพื่อลดการเก็บกักฝุ่นมากขึ้นด้วย
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ เพราะช่วยกรองฝุ่นขนาดใหญ่ กำจัดฝุ่นละออง แบคทีเรีย เชื้อไวรัส และสารก่อภูมิแพ้ในอากาศภายในห้อง นอกจากได้รับอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกาย และจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter เพราะเป็นแผ่นกรอง ที่ดักจับอนุภาคประสิทธิภาพสูง สามารถกรองอากาศมีความละเอียดสูงกว่าแผ่นกรองอากาศปกติ สกัดกั้นสารก่อภูมิแพ้ได้ เพราะแม้จะปิดประตูหน้าต่าง ฝุ่น PM 2.5 ก็ยังเล็ดลอดเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- ยาสำหรับผู้มีโรคประจำตัว หรือ ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น เด็ก คนชรา ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทั้งระบบทางเดินหายใจ ปอด หัวใจ ฯลฯ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควรพกยาไว้ใกล้ตัว พร้อมใช้ยามฉุกเฉิน
- ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะช่วยการกระตุ้นการหมุนเวียนของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ สร้างสมดุลร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ เคยสังเกตุไหมเมื่อใดก็ตามที่พักผ่อนไม่เพียงพอ จะเกิดอาการป่วยได้ง่าย นั่นเป็นเพราะภูมิคุ้มกันตก เพราะเราใช้ร่างกายทุกๆวัน หากร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ สภาพร่างกายก็จะดี มีภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ในการจัดการระบบภายใน ให้โรคภัยเข้ามาได้ยากขึ้น
- รับประทานอาหาร และ เครื่องดื่มที่ดี เพราะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกายได้อย่างดี เพราะร่างกายต้องการสารอาหาร เพื่อผลิตพลังงานให้เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้โรคภัย ไข้เจ็บต่างๆด้วย และเครื่องดื่มที่ควรเลือกดื่ม ก็จำเป็นจะต้องมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ และเครื่องดื่มที่อยากแนะนำให้ดื่มช่วยที่ฝุ่น PM2.5 หนักแบบนี้ คือ น้ำขิง เพราะเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ช่วย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ ในขิงจะประกอบไปด้วยสารสำคัญหลักๆ คือ สารจินเจอร์รอล และ สารโชเกล [5]
สารจินเจอร์รอลในขิง Gingerol มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ในขิงยังมีฤทธ์ มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น เชื้อไวรัสโรคไข้หวัด ภูมิแพ้ เพราะน้ำมันหอมระเหยของขิง ช่วยให้รู้สึกโล่ง หายใจสะดวก ในขณะเป็นหวัด คัดจมูก
สารโชเกลในขิง (Shogaol) ช่วยบรรเทาอาการไอ ระคายคอ และยังช่วยลดความดันในเลือด โรคไอ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตลอดจนโรคติดเชื้อที่ไม่รุนแรงทุกชนิด
เพราะฉะนั้นการเลือกดื่ม เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพอย่างน้ำขิง จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่อยากให้ทุกคนนึกถึง และหันมาลองดื่มดู เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ให้ดีอยู่เสมอ PM2.5 ที่ต้องอยู่ในชีวิตเราอีกนาน ก็คงทำอะไรไม่ได้ หากเรามีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่เสมอ และสำหรับท่านใดรู้สึกว่า น้ำขิงทานยาก ลองเลือก น้ำขิงฮอทต้า เป็นอีก 1 ทางเลือก เพราะน้ำขิงฮอทต้ามีหลากหลายสูตร สามารถเลือกได้ตามความชอบ และความเหมาะสมได้เลย
และหากอยากนำ น้ำขิงฮอทต้า ไปทำเมนู หรือ เครื่องดื่มอื่นๆ ก็สามารถติดตามได้ที่ เมนูอร่อยขิง ขิง เพิ่มเติมจากลิงก์นี้ได้เลย
อ้างอิง
[1] PM2.5 และ แหล่งที่มาของมลพิษ
[2] PM2.5 ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก
[3] ฝุ่นพบมาก ช่วงไหน
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ